“ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน เว้นแต่ความตายและภาษี”
มิสเตอร์จิลส์ จอห์นสัน ผู้ดูแลแผนกซ่อมบำรุงพูดกับ เชด แฮมิลตัน
“In this world, nothing is certain except death and taxes”
Sponsored Ads
ประโยคนี้มาจาก Whispering Verse บทที่ 168 เป็นวลียอดฮิตที่รู้จักกันดีซึ่งเน้นย้ำถึงการหลีกเลี่ยงไม่ได้ของทั้ง “ความตายและภาษี – Death and taxes” โดยสำนวนนี้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดมาจากปลายปากกาของรัฐบุรุษชาวอเมริกัน เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ที่เขียนจดหมายถึง ฌอง-แบปติสต์ เลอ รอย (Jean-Baptiste Le Roy) ในปี ค.ศ. 1789 มีใจความตอนนึงว่า “ขณะนี้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของเราได้รับการสถาปนาแล้ว และมีลักษณะที่ปรากฏซึ่งสัญญาว่าจะคงอยู่ตลอดไป แต่ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน เว้นแต่ความตายและภาษี (Our new Constitution is now established, and has an appearance that promises permanency; but in this world nothing can be said to be certain, except death and taxes)” แต่แฟรงคลินไม่ใช่ต้นกำเนิดของวลีนี้ ซึ่งมีการใช้มาก่อนหน้านี้ในศตวรรษที่ 18
ต้นกำเนิด (Origins)
การแพร่วลีนี้เร็วที่สุดปรากฎในบทละคร The Cobbler of Preston (1716) ของ คริสโตเฟอร์ บุลล็อค (Christopher Bullock) มีประโยคนึงว่า “คุณโกหกคุณไม่แน่ใจ เพราะฉันพูดว่า สตรีเอ๋ย เป็นไปไม่ได้ที่จะแน่ใจในสิ่งใดๆ เลยนอกจากความตายและภาษี — ดังนั้นจงนิ่งเสียเถิด ไม่เช่นนั้นเจ้าทั้งสองจะถูกเฆี่ยนตีอย่างดี – แน่นอนว่าฉันรู้จักหน้าที่ของฉัน – ขอกระสอบมาให้ฉันบ้าง – ท่านลอร์ด ฉันเหงื่อออกมาก! (You lye, you are not sure; for I say, Woman, ’tis impossible to be sure of any thing but Death and Taxes — therefore hold your Tongue, or you shall both be soundly whipt—Sure I know my Office—Give me some Sack—Lord, how I sweat!)” และ แดเนียล เดโฟ (Daniel Defoe) ยังสะท้อนความรู้สึกนี้ในผลงาน The Political History of the Devil (1726) โดยเขียนไว้ว่า “สิ่งที่แน่นอน เช่น ความตายและภาษี สามารถเชื่อได้อย่างมั่นคงมากขึ้น (Things as certain as death and taxes, can be more firmly believ’d)”
Sponsored Ads
ความหมายและความสำคัญ (Meaning and Significance)
วลีนี้มักใช้เพื่อสื่อความคิดที่ว่าทุกสิ่งในชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ยกเว้นเพียงสองสิ่งที่แน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ความตายและการจ่ายภาษี ไม่ว่าคุณจะพยายามหลีกเลี่ยงอย่างไร สุดท้ายแล้วคุณก็ต้องเผชิญกับทั้งสองสิ่งนี้ คำพูดนี้กลายเป็นคำพูดทั่วไป มักใช้อย่างตลกขบขันหรือแดกดันเพื่ออธิบายสถานการณ์ที่สิ่งต่างๆ คาดเดาไม่ได้หรือควบคุมไม่ได้ และสามารถนำไปใช้ได้ 3 แนวทางดังนี้
- เราไม่สามารถแน่ใจสิ่งใดได้ 100% (ยกเว้นการตายและต้องจ่ายภาษี – ในกรณีนี้ประโยคจะถูกเติมเข้าไปด้วยอารมณ์ขัน)
- เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษีได้ (ในกรณีนี้ แนวคิดเรื่องการตายเพื่อเน้นย้ำถึงความแน่นอนของภาษีเท่านั้น)
- เราแน่ใจได้เลยว่าจะตายอย่างแน่นอน (ในกรณีนี้คือการเพิ่มเรื่องภาษีเข้าไปเพื่อเติมอารมณ์ขัน)
สรุป (Conclusion)
“ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน เว้นแต่ความตายและภาษี ( in this world nothing can be said to be certain, except death and taxes)” เป็นประโยคที่สะท้อนถึงความจริงของชีวิตที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คำพูดนี้ยังคงเป็นที่นิยมและถูกใช้ในหลายบริบทเพื่อเน้นถึงความแน่นอนของสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นแทนที่จะกังวลกับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราควรใช้ชีวิตให้ดีที่สุดและทำประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อว่าเมื่อถึงเวลาสิ้นสุดชีวิต เราจะไม่เสียใจกับสิ่งที่ผ่านมา
Sponsored Ads