ไฮกุ (俳句, haiku) เป็นบทกวีญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่มีบทบาทมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไฮกุเป็นบทกวีที่มีความเรียบง่าย โดยที่กวีอื่นมีความยาวมากน้อยต่างกันและมีบังคับสัมผัสตามหลักฉันทลักษณ์ ทำให้บทกวีดังกล่าวไม่เหมาะกับการแสดงออกถึงปรากฏการณ์ทางจิต-วิญญาณและความลึกซึ้งออกมาได้ เนื่องจากบทกวีได้ถูกบังคับยึดติดกับรูปแบบและข้อจำกัดตายตัว แต่บทกวีไฮกุได้ตัดทอนลงให้เหลือเพียงตัวอักษร 3 วรรค ยาว 5-7-5 รวมเป็นตัวอักษรเพียง 17 ตัวเท่านั้น
Sponsored Ads
ประวัติและความเป็นมา
ไฮกุมีต้นกำเนิดมาจากบทกวีดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ไฮไค” (俳諧 / Haikai) หรือ “เร็งกุ” (連句 / Renku) ซึ่งเป็นบทกวีที่มีลักษณะการเขียนต่อเนื่องและไม่มีข้อจำกัดของเนื้อหา ในช่วงศตวรรษที่ 17 มัตสึโอะ บะโช (松尾芭蕉 / Matsuo Bashō) ได้ปรับเปลี่ยนบทกวีให้สั้นลงเหลือเพียง 3 วรรคแรก เรียกว่า “ฮกกุ” (発句 / Hokku) และในช่วงศตวรรษที่ 19 มาซาโอกะ ชิกิ (正岡 子規 / Masaoka Shiki) ได้เรียกบทกวีชนิดนี้ว่า “ไฮกุ” ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลาย
ลักษณะและองค์ประกอบของไฮกุ
ไฮกุมีลักษณะเด่นที่ความเรียบง่ายและการใช้คำที่กระชับได้ใจความ โดยมีองค์ประกอบหลัก 3 อย่าง ได้แก่
- จำนวนพยางค์: ไฮกุมีทั้งหมด 17 พยางค์ แบ่งเป็น 3 วรรค โดยแต่ละวรรคมีจำนวนพยางค์เป็น 5-7-5 ในภาษาญี่ปุ่น จะนับเป็นหน่วยเสียงที่เรียกว่า “โมระ” แทนพยางค์ ถึงแม้ว่ารูปแบบดั้งเดิมจะเป็น 5-7-5 แต่ในปัจจุบันบางครั้งอาจมีการยืดหยุ่นได้ ตราบใดที่ยังคงรูปแบบสั้น-ยาว-สั้น
- คิโกะ (季語 / Kigo): การใช้สัญลักษณ์ของฤดูกาลในการประพันธ์ ผู้แต่งจะแฝงนัยยะสื่อภายในตัว โดยเน้นการถ่ายทอดความรู้สึกและภาพในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างกระชับและลึกซึ้ง สังเกตรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจําวันและธรรมชาติรอบตัว
- คิเระจิ (切れ字 / Kireji): การเปรียบเทียบสองสิ่งที่มีลักษณะแตกต่างกัน ส่วนนี้จะปรากฏอยู่ในตอนท้ายของบทเป็นการสรุปประเด็นที่เกิดขึ้นและผลที่ตามมา โดยพยายามสร้างความประหลาดใจหรือมุมมองใหม่ให้กับผู้อ่านในบรรทัดสุดท้าย
หนึ่งในตัวอย่างไฮกุที่มีชื่อเสียงของมัตสึโอะ บะโช คือ
ふるいけや
สระโบราณ
かわずとびこむ
みずのおと
กบกระโดดลงไป
เสียงน้ำกระเซ็น
Sponsored Ads
หลักการเขียนไฮกุ
- กล่าวถึงสิ่งใกล้ตัว: ควรกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาขณะใดขณะหนึ่ง ไม่ควรกล่าวถึงช่วงเวลายาวนาน
- เอาใจใส่ในรายละเอียด: นำรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ มาแต่งเป็นไฮกุ เลือกใช้คำที่กระชับได้ใจความ ไม่ใช้คำเยิ่นเย้อ
- ถ่ายทอดตามธรรมชาติ: ไฮกุไม่ใช่การพูดถึงเหตุผลหรือปรัชญาทางความคิด แต่เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่เห็นออกมาตามธรรมชาติ
- บรรทัดสุดท้าย: มักใส่ความแปลกลงในบทกลอน โดยมักจะมีถ้อยคำที่แสดงความรู้สึกนึกคิดชั่วขณะนั้น
สรุป
ไฮกุเป็นบทกวีที่สะท้อนความงดงามของธรรมชาติและความรู้สึกของมนุษย์ในช่วงเวลาหนึ่ง การประพันธ์ไฮกุจะต้องเอาใจใส่ในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ และเลือกใช้คำที่กระชับได้ใจความ ไม่ใช้คำเยิ่นเย้อ หรือคำขยายความ ทำให้ผู้อ่านสามารถสัมผัสถึงความรู้สึกและภาพที่ผู้แต่งต้องการสื่อได้อย่างลึกซึ้งและตรงไปตรงมา
ฝนโปรยลงเบาเบา
Light rain softly falls
ผู้คนกำลังรอคอยอยู่
รถเมล์วิ่งผ่านไป
People are waiting around
The bus passes by
Sponsored Ads