Lifestyle / What · September 3, 2021 0

7 เคล็ดลับการเขียนนิยายจากเฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid)

ก่อนที่คุณจะเริ่มเขียนนิยาย คุณต้องทำความเข้าใจและวางโครงเรื่องก่อนที่จะเริ่มเขียน คุณสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ตลอดเวลา แต่มันก็คงจะยากหากคุณไม่มีตัวช่วยในการสร้างเรื่องราวการเขียนของคุณ เฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid) จะช่วยคุณได้

ทฤษฎีเฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid)

ทฤษฎีเฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid) มาจากการสร้างสรรค์ที่อยู่ในหนังสือปี 1863 เรื่อง ‘เทคนิคการละครของเฟรทาค’ (Freytag’s Technique of the Drama) ของ กุสตาฟ เฟรทาค (Gustav Freytag) นักเขียนนวนิยายที่สมจริงชาวเยอรมัน เขาเกิดเมื่อ 13 กรกฏาคม 1816 ที่ กลุดช์บอร์ก (Kreuzburg) แคว้นซิลีเซีย (Silesia) ปรัสเซีย (Prussia) [ปัจจุบัน กลุดช์บอร์กอยู่ในโปแลนด์] – เสียชีวิต 30 เมษายน 1895 ที่ วีสบาเดิน (Wiesbaden) เยอรมนี

โครงเรื่องเอกภาพของอริสโตเติล (Aristotle’s Unified Plot)

เฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid) เป็นการดัดแปลงจาก โครงเรื่องเอกภาพของอริสโตเติล (Aristotle’s Unified Plot) ในหนังสือ The Poetics ซึ่งเขาเปลี่ยนสามเหลี่ยมพื้นฐานให้เป็นพิระมิดและเพิ่มอีกสองระดับ อันแรกที่เพิ่มคือ การผูกปม (Rising Action) ที่แทรกอยู่ระหว่างด้านซ้ายล่างสุดและจุดกลางที่สูงที่สุด และอันที่สองคือ การคลี่คลาย (Falling action) ที่วางอยู่ระหว่างกลางจุดที่สูงที่สุดและปลายด้านขวาล่าง

Sponsored Ads

โครงเรื่องเอกภาพของอริสโตเติล (Aristotle’s Unified Plot)

  • การเปิดเรื่อง (Exposition)
  • เหตุการณ์ตึงเครียด (Climax)
  • การแก้ปัญหา (Resolution)

เฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid)

  • การเปิดเรื่อง (Exposition)
  • การผูกปม (Rising Action)
  • เหตุการณ์ตึงเครียด (Climax)
  • การคลี่คลาย (Falling action)
  • การแก้ปัญหา (Resolution)

เฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid) 7 ขั้นตอน

เราสามารถสร้างโครงเรื่องในการเขียนนิยายจาก เฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid) ให้เป็น 7 ขั้นตอนได้ตามรูปภาพข้างล่างนี้

เฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid)

การเปิดเรื่อง (Exposition) เปิดเรื่องอารัมภบทเรื่องราว ใครคือตัวเอก ใครบ้างที่เกี่ยวข้อง เราอยู่ที่ไหนใน เวลาและสถานที่? บ่อยครั้งที่การเปิดเรื่องจะกล่าวถึงเรื่องราวโดยย่อหรือสถานภาพปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ (Inciting Incident) จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์อาจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในเรื่อง ถึงแม้ว่า เหตุการณ์ตึงเครียด (Climax) จะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาตัวละครหลัก เรื่องราวจะไม่มีการเริ่มต้นหากไม่มีจุดจุดนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นเหตุการณ์เดี่ยวหรือชุดของเหตุการณ์ที่สถานภาพเดิมจาก การเปิดเรื่อง (Exposition) ถูกขัดจังหวะหรือถูกท้าทาย ตัวเอกถูกเชื้อเชิญหรือถูกบังคับให้ไปในการเดินทางโดยทางจิตใจหรือทางกายภาพหากไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ สถานภาพเดิมจะยังคงอยู่และจะไม่มีเรื่องเล่าที่พลิกผัน

การผูกปม (Rising Action) การผูกปมที่สร้างขึ้นเพื่อไปสู่ เหตุการณ์ตึงเครียด (Climax) ของเรื่องราวมันเป็นชุดของเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงกันซึ่งตัวเอกจะเติบโตจนไปสู่จุดเปลี่ยนในนวนิยาย เหตุการณ์เหล่านี้อาจเป็นความท้าทาย การเปิดเผยและการสังสรรค์ ที่สร้างขึ้นการพัฒนาเนื้อเรื่องในนวนิยาย

เหตุการณ์ตึงเครียด (Climax) เหตุการณ์ตึงเครียดคือจุดพลิกผัน จากจุดนี้เป็นต้นไปตัวเอกจะถูกเปลี่ยน หากเรื่องราวนั้นจบลงอย่างมีความสุขสิ่งต่างๆ ก็จะดีขึ้นถ้าเรื่องนั้นจบลงด้วยความเศร้าสิ่งต่างๆ ก็มักจะแย่ลง เหตุการณ์ตึงเครียด (Climax) ไม่ได้เป็นเหตุการณ์ใหญ่ เฉกเช่น การต่อสู้ของกองทัพ ที่โดยมากมักจะอยู่ใน การแก้ปัญหา (Resolution) แต่อาจมีความละเอียดอ่อนมาก เช่น การตระหนักถึงตัวละครหลักที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเขาในช่วงเวลาที่เหลือของเรื่อง

การคลี่คลาย (Falling action) ในการคลี่คลายเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของตัวเอก ความท้าทายที่เพิ่มขึ้น ความจริงที่ถูกเปิดเผย และการพบปะกันที่มากขึ้น และสิ่งต่างๆ ก็จะเชื่อมโยงถึง การแก้ปัญหา (Resolution) ของเรื่องราว แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจน มักจะมีบางคนสงสัยว่าตัวเอกจะเอาชนะความท้าทายของเขา

การแก้ปัญหา (Resolution) การแก้ปัญหาจะแก้ไขโครงเรื่องหลัก ตัวเอกเอาชนะ (หรือล้มเหลว!) ความท้าทายของเขา คการแก้ปัญหา (Resolution) สามารถเชื่อมโยงเข้ากับการปิดเรื่อง (Denouement) ด้วย

การปิดเรื่อง (Denouement) โครงเรื่องอื่นๆ ได้รับการแก้ปัญหา (Resolution) หรือไม่ได้แก้ ตัวละครหลักมีสถานภาพใหม่ที่ถูกเปลี่ยน (หรือเสียชีวิต) พวกเขาอาจกลับไปที่การตั้งค่าเริ่มต้น แต่ไม่จำเป็น บางครั้ง การปิดเรื่อง (Denouement) ก็เกี่ยวพันกับ การแก้ปัญหา (Resolution) ที่อาจจะสั้นมาก

เฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid) มีประสิทธิภาพมากกว่าการสรุปอย่างย่อ มันบังคับให้คุณไปที่ส่วนสำคัญของ นวนิยาย และเสนอแนวคิดการสร้างภาพแทนของเรื่องราว ดังนั้นจึงง่ายต่อการจดจำและเรียกคืนโครงเรื่อง แม้ว่าเรื่องราวจะเบี่ยงเบนไป แต่ เฟรทาคพิระมิด ยังคงมีประโยชน์เพราะคุณอาจเข้าใจได้ดีขึ้นว่าอะไรคือสิ่งที่มันเบี่ยงเบนไป

Sponsored Ads

เฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid) กับ มหากาพย์ลอร์ดออฟเดอะริง (LORD OF THE RINGS TRILOGY)

ในปัจจุบันนี้ เฟรทาคพิระมิด ไม่เพียงแต่ใช้ในการวิเคราะห์โครงเรื่องบทละคร แต่ใช้ใน เรื่องสั้น นวนิยาย ฟิคชั่น บทภาพยนตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น มหากาพย์ลอร์ดออฟเดอะริง (LORD OF THE RINGS TRILOGY) เราลองเทียบเคียงเรื่องราวเข้ากับ เฟรทาคพิระมิด

การเปิดเรื่อง (Exposition) สร้างประวัติศาสตร์ของสงครามครั้งที่ 1 กับ เซารอน (Sauron) ใน The Innocence of Hobbits

จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ (Inciting Incident) แหวนของ แกนดัล์ฟ (Gandalf)

การผูกปม (Rising Action) หลบหนีจากศัตรู, สร้างมิตรภาพ, ภารกิจ

เหตุการณ์ตึงเครียด (Climax) สงครามครั้งยิ่งใหญ่ในขณะที่เดินทางไป โอโรดรูอิน (Orodruin) , แหวนของข้า กอลลัมที่พุ่งทะยานคว้าแหวน

การคลี่คลาย (Falling action) เรื่องราวภายหลังสงคราม การพ่ายแพ้ของเซารอน การช่วยเหลือฮอบบิท

การแก้ปัญหา (Resolution) กองทัพแห่งความมืดอยู่ในความระส่ำระสาย, อารากอร์น (Aragorn) ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์, ฮอบบิทได้รับความเคารพ

การปิดเรื่อง (Denouement) ครอบครัว, เอลฟ์จากไป, โฟรโด (Frodo) เดินทางข้ามทะเล

ภายในนวนิยายคุณอาจมีหลายจุดที่มีการผูกปม (Rising Action) แต่คุณต้องมีเพียงหนึ่งเหตุการณ์ตึงเครียด (Climax) และหนึ่งการแก้ปัญหา (Resolution) ยิ่งคุณเขียนโครงเรื่องตาม เฟรทาคพิระมิด (Freytag’s Pyramid) มากเท่าไหร่ งานเขียนของคุณก็จะยิ่งง่ายขึ้นเท่านั้น คุณสามารถเพิ่มหรือลบ เฟรทาคพิระมิด ได้ตลอดเวลาในกระบวนการ แต่คุณควรจะจดจำอยู่เสมอว่าคุณเขียนอยู่ในช่วงใด